ถาม - ตอบ

1. ผู้ถือหุ้นหลักของอีสท์วอเตอร์เป็นใคร

ตอบ : ผู้ถือหุ้นประมาณ 45% เป็นหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดปริมาณน้ำจำหน่ายเพิ่มเติมได้ที่

(http://investor.eastwater.com/th/info/major-shareholder)

ตอบ: คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายที่จะเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวมภายหลังหักเงินสำรองตามกฎหมายในแต่ละปี รวมถึงความจำเป็นและความเหมาะสมอื่นๆตามที่บริษัทเห็นสมควร

ตอบ: ระบบท่อส่งน้ำที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการสูบจ่ายน้ำ ระบบนี้มีหลักการทำงาน คือ สถานีสูบน้ำจะสูบน้ำจากแหล่งน้ำ (อ่างเก็บน้ำ) ไปยังสถานียกระดับน้ำซึ่งมีความสูงมากกว่าสถานีรับน้ำปลายทาง โดยสถานียกระดับน้ำ จะทำหน้าที่ควบคุมแรงดันของน้ำในการส่งน้ำต่อไปยังสถานีรับน้ำปลายทางโดยแรงโน้มถ่วงของโลก และอาจจะมีการติดตั้งสถานีรับน้ำขึ้นระหว่างทางเพื่อสูบน้ำไปยังสถานียกระดับน้ำเป็นช่วงๆ เพื่อเพิ่มแรงดันของน้ำในกรณีที่ท่อส่งน้ำมีความยาวกว่าปกติ

ตอบ: ทางบริษัทฯ ได้ศึกษาและนำเทคโนโลยีการต่อประสานท่อโดยไม่หยุดจ่ายนํ้า (Hot Tapping / Wet Tapping) โดยมีกระบวนการก่อสร้างระบบป้องกันดินพังและทำการขุดหน้าดินถึงระดับท่อส่งน้ำเดิม แล้วจึงทำการเชื่อมท่อเก่ากับท่อใหม่ ทำให้สามารถซ่อมบำรุงท่อ Reroute แนวท่อใหม่ หรือทำท่อแยกเพื่อสูบส่งน้ำไปยังจุดอื่น โดยไม่ต้องหยุดระบบการจ่ายน้ำให้กับผู้ใช้บริการ

ตอบ: SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) คือ ระบบการควบคุมการสูบส่งน้ำทางไกลแบบศูนย์รวม เป็นระบบซึ่งนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาใช้ เพื่อช่วยให้ทราบข้อมูลของแรงดันและปริมาณน้ำในเส้นท่อทั้งโครงข่ายฯ รวมถึงปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ โดยส่งตรงเข้าศูนย์ปฏิบัติการกลาง ทำให้สามารถติดตามผลและแก้ไขปัญหาการส่งน้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดการสูญเสียน้ำในเส้นท่อ จาก 20% เหลือเพียงไม่เกิน 3% ภายในระยะเวลา 3 ปีี

ตอบ: บริษัทกำหนดกลุ่มลูกค้าและอัตราค่าน้ำ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • 1. กลุ่มลูกค้าภาคอุปโภคบริโภค ได้แก่ กิจการที่ใช้น้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาส่งให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล และชุมชนต่าง ๆ โดยกำหนดอัตราค่าน้ำที่ 9.90 บาทต่อลบ.ม.
  • 2. กลุ่มลูกค้าภาคอุตสาหกรรม (มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564) แบ่งออกเป็น
  • 2.1 ค่าน้ำแบบอัตราคงที่ แยกตามพื้นที่ให้บริการ รายละเอียดดังนี้
ประเภทผู้ใช้น้ำ อัตราจำหน่ายปี 2565 อัตราค่าน้ำส่วนเพิ่มปี 2565
(บาทต่อลบ.ม.) (บาทต่อลบ.ม.)
1. พื้นที่มาบตาพุด 11.50 0.97
2. พื้นที่ปลวกแดง-บ่อวิน 11.50 0.89
3. พื้นที่ฉะเชิงเทรา 12.50 0.96
4. พื้นที่ชลบุรี 12.50 1.00

หมายเหตุ :

  • 1. อัตราค่าน้ำข้างต้นนี้ ใช้สำหรับผู้ใช้น้ำที่รับน้ำดิบจากบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอทุกเดือนเท่านั้น หากผู้ใช้น้ำหยุดรับน้ำจากบริษัทฯ เกินกว่า 2 เดือนต่อปี หรือรับน้ำไม่ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำจัดสรรที่ได้รับ หรือปริมาณที่ตกลงไว้ในแต่ละปี บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิยกเลิกสัญญา ซื้อขายน้ำดิบ หรือคิดอัตราค่าน้ำดิบตามที่เห็นว่าสมควร
  • 2. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิในการทบทวนอัตราค่าน้ำดิบให้สอดคล้องกับต้นทุนการบริหาร และสูบจ่ายน้ำดิบตามสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ๆ ได้ตามสมควร
  • 2.2 ค่าน้ำแบบสูตรโครงสร้างราคา กำหนดการคำนวณค่าน้ำรายเดือนตามสูตรการคำนวณค่าน้ำ ดังนี้

Monthly Payment (ค่าน้ำจำหน่ายรายเดือน) = (RF*(Dc /12)) + (DF*QA) + (UF*VA)

คำนิยาม หน่วย ความหมาย
Dc ลูกบาศก์เมตรต่อปี ปริมาณน้ำตามสัญญา
QA ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ปริมาณการรับน้ำสูงสุดในแต่ละเดือน คำนวณจากปริมาณรับน้ำจริงของผู้ใช้น้ำในแต่ละเดือนหารชั่วโมงการรับน้ำในเดือนดังกล่าว หรือ 70% ของการรับน้ำต่อชั่วโมงสูงสุดในรอบ 12 เดือนย้อนหลัง โดยใช้ค่าที่สูงกว่าเป็นหลัก
VA ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ปริมาณการรับน้ำจริงของผู้ใช้น้ำในแต่ละเดือน
Hr ชั่วโมง ชั่วโมงการรับน้ำในแต่ละเดือน
RF บาทต่อลูกบาศก์เมตร อัตราคงที่ที่กำหนดสำหรับการคำนวณการรับประกันปริมาณน้ำตามสัญญา (Dc) ในแต่ละปี
DF บาทต่อลูกบาศก์เมตร อัตราคงที่ที่กำหนดสำหรับการคำนวณการรับรองความต้องการปริมาณน้ำสูงสุด
UF บาทต่อลูกบาศก์เมตร อัตราคงที่แปรผัน

  • 2.3 ค่าน้ำสำหรับผู้ใช้น้ำกลุ่มที่มีความประสงค์รับซื้อน้ำเป็นการชั่วคราว หรือเฉพาะกาล ซึ่งบริษัทฯ กำหนดอัตราราคาขายปลีกที่ 16.45 บาท ต่อ ลบ.ม. โดยมีเงื่อนไขการรับน้ำเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
ตอบ : ในปี 2564 กรมธนารักษ์มีความประสงค์จะคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักใน ภาคตะวันออก 3 โครงการ ประกอบด้วยโครงการท่อส่งน้ำดอกกราย โครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ-แหลมฉบัง ระยะที่ 2 ซึ่งจากผลกระทบที่กรมธนารักษ์ดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำดังกล่าวนั้น บริษัทอาจไม่ได้รับสิทธิบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำทั้ง 3 โครงการของกรมธนารักษ์ จึงได้พิจารณาวางแผนงานและดำเนินโครงการต่าง ๆ ในปี 2565-2566 เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
    1. โครงการเร่งด่วนกรณีไม่ได้รับการเช่าบริหารท่อส่งน้ำภาคตะวันออกของกรมธนารักษ์
    2. โครงการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำเชื่อมโยงระบบ Water Grid เสริมสร้าง Water Security ให้กับระบบส่งน้ำในภาคตะวันออก
    3. การติดต่อประสานงานลูกค้าเพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งจ่ายน้ำให้ลูกค้า โดยไม่ได้รับผลกระทบ
    4. การดำเนินการด้านสัญญาการเช่าบริหารระบบท่อส่งน้ำของกรมธนารักษ์อย่างต่อเนื่อง

ในการดำเนินการที่กล่าวมาข้างต้น บริษัทจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้การดำเนินการไม่ส่งผลกระทบในการสูบส่งน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำของบริษัททุกราย

ตอบ: เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 บริษัทได้ออกหุ้นกู้ชนิดไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันและไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ จำนวน 2,400 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้ค่าก่อสร้างโครงการทับมาและโครงการวางท่อประแสร์-หนองปลาไหล และเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 บริษัทได้ออกหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันและมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,600 ล้านบาท เพื่อชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

หุ้นกู้ครั้งที่ ประเภทหุ้นกู้ มูลค่าที่ออก
(ล้านบาท)
อายุ
(ปี)
วันครบกำหนดไถ่ถอน อัตราดอกเบี้ย
(ร้อยละต่อปี)
1/2558
ชุดที่ 1
หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ
ไม่มีหลักประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
1,200 7 16 มิ.ย. 2565 3.84
1/2558
ชุดที่ 2
หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ
ไม่มีหลักประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
1,200 10 16 มิ.ย. 2568 4.18
1/2565
ชุดที่ 1
หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ
ไม่มีหลักประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
850 5 31 พ.ค. 2570 3.53
1/2565
ชุดที่ 2
หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ
ไม่มีหลักประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
750 10 31 พ.ค. 2575 4.52

หมายเหตุ : หุ้นกู้ครั้งที่ 1/2558 ชุดที่ 1 ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มูลค่า 1,200 ล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565

ตอบ: ท่านสามารถติดตามสถานการณ์น้ำและความคืบหน้าของโครงการระหว่างก่อสร้างได้ที่

(http://www.eastwater.com/th/Customer/WeeklyWaterSituation)

ตอบ: ต้นทุนหลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำดิบ ได้แก่ ค่าเสื่อมราคาของระบบสูบจ่าย ค่าไฟฟ้าในการสูบจ่ายน้ำไปยังพื้นที่ต่าง ๆ และค่าบำรุงรักษา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณเกือบ 80% ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนอีกประมาณ 20% ที่เหลือเป็นค่าน้ำดิบ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรในระบบสูบจ่าย สำหรับต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำประปา ได้แก่ ค่าเสื่อมราคา และค่าน้ำดิบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณเกือบ 60% ของต้นทุนทั้งหมด และต้นทุนส่วนที่เหลือประมาณ 40% เป็นค่าใช้จ่ายพนักงาน Outsource ค่าซ่อมบำรุง ค่าสารเคมี ค่าไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

ตอบ: ปี 2563 บริษัทจำหน่ายน้ำดิบปริมาณ 229,040,200.00 ลูกบาศก์เมตร (ไม่รวมปริมาณน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา) และจำหน่ายน้ำประปาปริมาณ 97,715,772.81 ลูกบาศก์เมตร

ปี 2564 บริษัทจำหน่ายน้ำดิบปริมาณ 264,314,359.10 ลูกบาศก์เมตร (ไม่รวมปริมาณน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา) และจำหน่ายน้ำประปาปริมาณ 97,062,458.18 ลูกบาศก์เมตร

ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 บริษัทจำหน่ายน้ำดิบปริมาณ 65,237,017.00 ลูกบาศก์เมตร (ไม่รวมปริมาณน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา) และจำหน่ายน้ำประปาปริมาณ 22,440,400.48 ลูกบาศก์เมตร โดยท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดปริมาณน้ำจำหน่ายเพิ่มเติมได้ที่ (http://investor.eastwater.com/th/publications/water-report)

ตอบ : ประมาณ 70% ของลูกค้าน้ำดิบเป็นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม นอกเหนือจากนั้นลูกค้าจะเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น การประปาส่วนภูมิภาค เทศบาล หมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น

ตอบ : กลุ่มบริษัทอีสต์วอเตอร์ดำเนินธุรกิจการให้บริการสาธารณูปโภคด้านบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร โดยการบริหารจัดการและพัฒนาระบบท่อส่งน้ำสายหลักในพื้นที่ภาคตะวันออกเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำของชุมชนและกิจกรรมในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคอุปโภคบริโภคและภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบันบริษัทให้บริการส่งจ่ายน้ำดิบครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยผ่านระบบท่อส่งน้ำสายหลักเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายท่อส่งน้ำ (Water Grid) ที่ทันสมัยและสมบูรณ์ที่สุดรวมความยาวกว่า 512 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน แหล่งน้ำของเอกชน และแหล่งน้ำธรรมชาติที่ได้รับอนุญาตกับลูกค้าในพื้นที่บริการทั้ง 3 จังหวัด นอกจากนี้ อีสท์วอเตอร์ได้จัดตั้งบริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท UU เพื่อดำเนินธุรกิจต่อเนื่องด้านน้ำ ได้แก่ การผลิตน้ำประปาจากน้ำผิวดินและน้ำทะเล การบำบัดน้ำเสีย และน้ำรีไซเคิล โดยบริษัท UU ให้บริการกับลูกค้าทั้งหน่วยงานราชการ นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรม